พัฒนาการด้านเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาลอินโดนีเซียในรอบ 1 ปีการบริหารของ ปธน. SBY สมัยที่ 2
09/17/2015

1. การค้า
- วาระสำคัญของรัฐบาล
เร่งให้มูลค่าการส่งออกมาจากสินค้าประเภท non-oil and gas มากขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำมันที่ขุดเจาะได้ในประเทศต้องนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น อซ. จึงไม่สามารถส่งออกน้ำมันได้มากเช่นเดิมและยังต้องนำเข้าน้ำมันจาก ตปท. ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าประเภท non-oil and gas คิดเป็นร้อยละ 83 ของยอดการส่งออกทั้งหมดในปัจจุบัน
- Momentum จากสภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมที่เริ่มฟื้นตัวค่อนข้างส่งผลกระทบต่อมูลค่าการค้าที่เพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลสัมฤทธิ์ที่ดีต่อการดำเนินงานของรัฐบา
ในระหว่าง ม.ค. – ส.ค. 2553
(1) ดุลการค้าจากสินค้าประเภท non-oil and gas เกินดุล 11.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ดุลการค้าจาก oil and gas ขาดดุล 452.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ อซ. มีดุลการค้าเกินดุลโดยรวม 10.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(2) ประเทศที่ อซ. ส่งออกสินค้ามากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐ มาเลเซียและสิงคโปร์โดยญี่ปุ่นเป็นประเทศที่นำเข้าสินค้าจาก อซ. มากที่สุด
- รัฐบาล อซ. ยังคงมีโอกาสในการเพิ่มปริมาณและมูลค่าการส่งออกให้สูงขึ้นได้
ปัจจุบันภาคการส่งออก อซ. คิดเป็นร้อยละ 40 ของ GDP ซึ่งยังคงต่ำกว่ามาเลเซียและไทย ดังนั้น ก. การค้า อซ. จึงมีนโยบายสนับสนุนให้ผู้ส่งออก อซ. ให้มีโอกาสเข้าถึงตลาดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ อาทิ ตะวันออกกลางและแอฟริกาโดยมี EXIM bank และ trade mission ต่างๆ เป็นตัวขับเคลื่อน นอกจากนี้ ความประสงค์ของประเทศต่างๆ ที่ต้องการจะกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าทวิภาคีกับ อซ. โดยเฉพาะ emerging economies อาทิ บราซิล จีน อินเดีย น่าจะเป็นผลดีต่อภาคการส่งออกของ อซ. ในอนาคต

2. การลงทุนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ
- วาระสำคัญของรัฐบาล
(1) เน้นการลงทุนในการ โครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคม พลังงานไฟฟ้า และประปา โดยส่งเสริมให้เป็นการลงทุนในรูปแบบ Private Public Partnership (PPP)
(2) การใช้มาตรการ "tax holidays" เพื่อจูงใจการลงทุนซึ่ง BKPM กำลังอยู่ในระหว่างการประสานงานกับ ก. อุตสาหกรรมและ ก. การคลังก่อนการประกาศใช้อย่างเป็นทางการเนื่องจากติดขัดที่ กม. ภาษีของประเทศไม่สามารถให้ tax holidays กับทุกประเภทของการลงทุนได้
(3) การให้บริการของศูนย์ "one stop service" ซึ่งดำเนินการโดย BKPM ซึ่งรวมหน่วยงาน อซ. ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ license and non-license services สำหรับการลงทุนภายใต้ สนง. เดียวกันเพื่อความสะดวกในการรับบริการของนักลงทุนทั้งภายในและนอกประเทศ โดยศูนย์ฯ ได้เปิดให้บริการที่ส่วนกลางและในบางจังหวัดแล้วและกำลังจะขยายให้ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายมากขึ้น
(4) เน้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานผ่านการดำเนินโครงการการลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership Programme – PPP) ซึ่งรัฐบาลคาดว่ากว่าร้อยละ 43 ของการลงทุนจะมาจากภาคเอกชน
- มุลค่าการลงทุนและการจัดลำดับความสามารถในการแข่งขันของ อซ. สูงขึ้น
- รัฐบาลกำหนดให้ BKPM เป็น front office ของโครงการ PPP
รัฐบาลได้จัดทำร่าง presidential decree จำนวน 4 ฉบับเพื่อมอบหมายให้ BKPM เป็น "front office" ของโครงการ PPP เพื่อเป็นจุดประสานงานที่จะช่วยขจัดความสับสนของนักลงทุนจากการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานรัฐบาลและท้องถิ่น และช่วยนักลงทุนจัดเตรียมเอกสารประกอบการขอรับอนุญาตการลงทุน นอกจากนี้ ปธ. BKPM จะเสนอให้หน่วยงานของตนรับผิดชอบโครงการ PPP ไม่เกิน 5 โครงการที่เป็นโครงการที่นักลงทุนให้ความสนใจเป็นลำดับต้นๆ และเป็นโครงการที่มีพื้นที่การลงทุนนอกเขตชวาจำนวน 4 โครงการ และเป็นโครงการบำบัดน้ำในเขตชวาตะวันออกอีก 1 โครงการเนื่องจากระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาเขตชวาเป็นภูมิภาคที่มีสัดส่วนการลงทุนทั้งหมดกว่าร้อยละ 80 ในขณะที่เขตสุมาตราและกาลิมันตันมีสัดส่วนร้อยละ 20 ดังนั้น BKPM จึงเล็งเห็นว่าโครงการ PPP สามารถเป็นเครื่องมือดึงดูดให้เกิดการลงทุนและสามารถกระจายความเจริญและระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในเขตอื่นๆ ที่มีโอกาสน้อยกว่าได้ - ปัญหา Land acquisition ทำให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยรวมล่าช้าและไม่เป็นไปตามแผนงาน
ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินค่าชดเชยที่ดินอย่างเป็นธรรมให้กับผู้ถือครองที่ดินซึ่งรัฐบาลประสงค์จะเวรคืนเพื่อใช้ในกิจการสาธารณประโยชน์ ดังนั้น รัฐบาลจึงหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเสนอร่างกฎหมาย land acquisition for public purposes ให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบและคาดว่าจะทราบผลการพิจารณาภายในปลายปี 53 นี้ ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวได้เสนอให้มีการจัดตั้งทีมอิสระเพื่อประเมินที่ดินและอาคารเพื่อโครงการสาธารณประโยชน์ภายใต้โครงการ PPP - ปัจจัยกระตุ้นการลงทุนจากต่างประเทศในปัจจุบันและอนาคต
Realization of investment ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นผลมาจาก
(1) ความมั่นใจของนักลงทุน ตปท. ต่อเสถียรภาพทางการเมืองและแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
(2) ปัจจัยด้านแรงงานซึ่ง อซ. มีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า emerging and developing econmies ต่างๆ และมีแรงงานที่อายุต่ำกว่า 29 ปีกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรในประเทศ
(3) ตลาดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่
(4) ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนี้ โอกาสในการเพิ่ม momentum ของการลงทุนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้หากมีการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนต่างๆ เพื่อกระตุ้นการลงทุนและดึงดูดให้นักลงทุนหันมาลงทุนใน อซ. มากขึ้น
(1) Realization of investment ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) คิดเป็นมูลค่า 92.9 ล้านล้านรูเปียห์หรือ 10.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนภายในประเทศ 21.9 ล้านล้านรูเปียห์และมูลค่าการลงทุนจาก ตปท. 71 ล้านล้านรูเปียห์
(2) อซ. ได้รับการจัดลำดับใน Global Competitive Index (GCI) ของ World Economic Forum ให้เป็นลำดับที่ 44 จาก 139
(3)ความไม่พร้อมของโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เป็นอุปสรรคสำคัญในการขยายการค้าและการลงทุนของ อซ
รัฐบาล อซ. จึงได้จัดทำแผนพัฒนา logistics แห่งชาติโดยกำหนดให้มี economic corridor หรือ economic development highways จำนวน 6 เส้นทางตามแนวชายฝั่งทะเลของเกาะหลักๆ ของ อซ. คือ ชวา สุมาตรา กาลิมันตัน สุลาเวสีและปาปัว เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางการคมนาคมขนส่ง สำหรับแผน economic corridor เส้นแรกเป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมภาคตะวันออกของเกาะสุมาตรากับภาคตะวันตกของเกาะชวา (รวมจาการ์ตาและ จ. Banten) ประกอบด้วย 44 โครงการซึ่งกำหนดให้แล้วเสร็จเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงแรกภายในปี 2014 และช่วงที่สองภายในปี 2025 ในชั้นนี้ รัฐบาลได้มีข้อเสนอสำหรับการก่อสร้างให้แล้วเสร็จในช่วงแรกเป็นจำนวน 14 โครงการซึ่งเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างท่าเรือ สะพานและทางด่วน

3. พลังงาน
- วาระสำคัญของรัฐบาล
รัฐบาล อซ. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาพลังงานจาก fossil energy และ alternative energy โดย
(1) จะเพิ่มการสำรวจและขุดเจาะแหล่งน้ำมันใหม่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการผลิตน้ำมันให้ได้วันละ 970,000 บาร์เรลต่อวันภายในปี 2554 และให้ได้มากกว่า 1 ล้านบาร์เรลในปี 2557
(2) ก. พลังงานและแร่ธาตุ อซ. ได้จัดตั้งกรม renewable energy เพื่อส่งเสริมให้มีทางเลือกในการผลิตพลังงานจากแหล่งอื่นๆ นอกเหนือจากน้ำมันซึ่งยอดการผลิตน้ำมันได้ลดต่ำลงอยากมากตั้งแต่ อซ. ลาออกจากการเป็นสมาชิก OPEC เมื่อปี 2008
(3) เพิ่มกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าให้ได้ 1 หมื่นเมกกะวัตต์ภายในปี 2014 โดยลดการผลิตกระแสไฟฟ้าจากน้ำมันมาเป็นพลังงานในรูปแบบอื่นๆ แทนสร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อให้มีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอต่อภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือน
- การผลิตกระแสไฟฟ้ายังคงไม่เพียงพอกับอุปสงค์ภายในประเทศ
ในช่วงกลางปี 2553 นี้เกิดเหตุไฟฟ้าดับที่สนามบิน Soekarno-Hatta หลายครั้งซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติ ณ กรุงจาการ์ตาส่งผลให้เที่ยวบินล่าช้า สายการผลิตใน รง. อุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ได้รับผลกระทบ เหตุการณ์เหล่านี้คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจมิใช่น้อยและทำให้ต่างประเทศขาดความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
- การพัฒนาแหล่งพลังงานต่างๆ ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์และตอบสนองอุปสงค์ของประเทศมีความคืบหน้าเพียงเล็กน้อย
พลังงานจากความร้อนใต้พิภพ พลังงานถ่านหิน พลังงาน biofuel จากปาล์มน้ำมัน ซึ่งมีความสำคัญต่อการบรรลุแผนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานต่างๆ ให้ได้จำนวน 1 หมื่นเมกกะวัตต์ภายในปี 2014 ยังคงติดขัดที่ปัญหา land acquisition ซึ่งสร้างความล่าช้าในการสร้าง รง. ผลิตกระแสไฟฟ้าจาก รง. ผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหินจำนวน 8 แห่งซึ่งเสร็จสิ้นไปเพียงหนึ่งแห่ง (เริ่มสร้างเมื่อปี 2550) และความล่าช้าในการเจรจาตกลงราคารับซื้อกระแสไฟฟ้าของรัฐบาล
- รัฐบาล อซ. กำลังดำเนินมาตรกรต่างๆ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมพลังงานในส่วนของ upstream และ downstream
มูลค่าการส่งออกแหล่งพลังงานต่างๆ เช่น ถ่านหิน (จีนนำเข้าถ่านหินจาก อซ. เป็นอันดับ 2) และก๊าซธรรมชาติคิดเป็นหนึ่งในสามของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดซึ่งนับเป็นมูลค่าไม่น้อยสำหรับ emerging economies อย่าง อซ. ซึ่งจำเป็นค่อนข้างมากที่จะต้องใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานของประเทศให้รับกับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น รัฐบาลจึงคาดว่าการเร่งใช้มาตรการทางภาษี มาตรการกำหนดราคารับซื้อกระแสไฟฟ้าจากภาคเอกชนจะกระตุ้นให้มีการนำวัตถุดิบพลังงานมาใช้ประโยชน์ในประเทศและกระตุ้นให้ภาคเอกชนซึ่งรวมทั้งจากต่างประเทศมาลงทุนในธุรกิจพลังงานของ อซ. มากขึ้น

4. ความมั่นคงทางอาหาร
- วาระสำคัญของรัฐบาล
รัฐบาล อซ. ต้องการบรรลุ self-sufficiency เกี่ยวกับอาหารให้ได้ภายในปี 2014 โดยเฉพาะ staple food ที่จำเป็นสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ได้แก่ ข้าวสาร ถั่วเหลือง น้ำตาลและข้าวโพด โดยมีแผนพัฒนาพื้นที่วางเปล่าตามเกาะต่างๆ สำหรับการเพาะปลูกทางการเกษตรเพื่อส่งเสริมการรักษาระดับของ food supply ให้เพียงพอกับระดับการบริโภคของประชาชนในเขตต่างๆ เช่น ชวา ปาปัว เป็นต้น
- แผนการพัฒนาพื้นที่วางเปล่าสำหรับการเกษตรกรรมมีความคืบหน้าเล็กน้อย
แม้จะยังไม่มีความคืบหน้าจากแผนการบุกเบิกพื้นที่ว่างเปล่าที่ปาปัวให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษสำหรับเกษตรกรรมตามที่รัฐบาลได้ดำริไว้แต่ก็ยังมีความคืบหน้าในเขตชวาซึ่ง National Development Planning Agency (Bappenas) ได้ชี้แจงเมื่อช่วงเดือน ก.ค. 53 ที่ผ่านมาว่ามีพื้นที่ประมาณ 2 ล้านเฮกตาร์ที่สามารถใช้ดำเนินกิจกรรมเพาะปลูกทางการเกษตรในเขตชวาซึ่งได้รับการยินยอมจากหัวหน้ารัฐบาลท้องถิ่นต่างๆ แล้ว
- ปัญหาการบริหารจัดการ staple foods และการจัดสรรพื้นที่สำหรับการเกษตร
(1) โครงการรณรงค์ No Rice Day ซึ่งต่างก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุและไม่ยั่งยืน นอกจากนี้ รมว. กษ. เห็นว่า Bulog ควรเข้ามามีบทบาทในการรักษาเสถียรภาพของราคาและปริมาณข้าวให้ประชาชนมากกว่านี้ โดยเร่งรับซื้อข้าวจากชาวนาเพื่อเพิ่มปริมาณข้าวในสต็อกและเร่งการสีข้าวเพื่อขายให้ผู้รับซื้อรายย่อยซึ่งจะเป็นผู้กระจายข้าวเข้าสู่ตลาด แต่ที่ผ่านมาจำนวนข้าวในสต็อกประมาณ 1.8 ล้านตันของ Bulog ซึ่งน้อยกว่าปริมาณที่ผู้บริหารชุดเดิมได้กักตุนไว้ทำให้การรักษาปริมาณและระดับราคาในตลาดไม่ค่อยได้ผล (Bulog สามารถสต็อกข้าวเป็นปริมาณสูงสุดได้ 3.8 ล้านตัน)
(2) แนวโน้มการเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกภาคเกษตรกรรมมาเพื่อใช้สำหรับอุตสาหกรรมและการสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นมากในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาส่งผลให้จำนวนนาข้าวลดลงและยังกระทบต่อแผนการวางระบบชลประทานเพื่อการพัฒนาการเกษตรอีกด้วย
(3) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ในปีนี้ซึ่งมีฤดูฝนที่ยาวนานกว่าปกติส่งผลกระทบต่อปริมาณพืชผลต่างๆ ที่ลดลงจากปกติโดยเฉพาะ staple foods ซึ่งนอกจากจะกระทบต่อความสามารถในการบริโภคของประชาชนในระยะยาวแล้วยังกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรซึ่งในอนาคตอาจจะเป็นชนวนให้แรงงานภาคเกษตรกรรมจำนวนไม่น้อยหันเข้าสู่แรงงานภาคอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องได้
4 พฤศจิกายน 2553
แหล่งข้อมูล: สอท. ณ กรุงจาการ์ตา
แหล่งข้อมูล: สอท. ณ กรุงจาการ์ตา