รายงานเศรษฐกิจ ปี 2565

ภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2565 ของอินโดนีเซีย

สถิติภาพรวม

  • จำนวนประชากร สำรวจกลางปี 65 มีจำนวน 275.77 ล้านคน
  • จำนวนประชากรวัยแรงงาน สำรวจ ณ เดือน ส.ค. 65 มี 143.72 ล้านคน โดยมีอัตราว่างงาน 8.43 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 5.86 ของจำนวนประชากรวัยแรงงาน และร้อยละ 9.54 ของประชากรทั้งประเทศ)
  • อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ณ เดือน ม.ค. 66 ร้อยละ 5
  • อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย ณ เดือน ม.ค. 66 อยู่ที่ 15,153.60 IDR/1 USD
  • จำนวนเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ เดือน ม.ค. 66 อยู่ที่ 139.4 พันล้าน USD
  • อัตราเงินเฟ้อ (ตาม consumer price index) ณ เดือน ม.ค. 66 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.28 yoy โดยเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของธนาคารกลางอินโดนีเซีย (Bank Indonesia) อยู่ที่ร้อยละ 3.0±1
  • การเติบโตของสินเชื่อ (Loan Growth) ณ เดือน ธ.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 11.35 yoy

2. 2. GDP ในปี 65 ของอินโดนีเซีย

2.1 ขยายตัวร้อยละ 5.31

ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ล่าสุดของ Bank Indonesia และสูงที่สุดในรอบ 9 ปีตั้งแต่รัฐบาลอินโดนีเซีย ชุดปัจจุบันดำรงตำแหน่ง (GDP ปี 64 ขยายตัวร้อยละ 3.70) ทำให้รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศความสำเร็จว่าสามารถผลักดันให้เศรษฐกิจกลับมาขยายตัวเกินร้อยละ 5 หลังสถานการณ์ COVID-19 ได้ โดย GDP ณ ราคาปัจจุบัน (current price) มีมูลค่า 19,588.4 ล้านล้าน IDR (1,290.7 พันล้าน USD) และ GDP per capita มีมูลค่า 71 ล้าน IDR (4,783.9 USD)



สถิติการขยายตัวของเศรษฐกิจอินโดนีเซียรายปี (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติอินโดนีเซีย (BPS) ณ วันที่ 6 ก.พ. 66)


2.2 การขยายตัวของธุรกิจ/อุตสาหกรรมหลักของอินโดนีเซีย ในปี 65

มีรายละเอียดตามตารางข้อมูลด้านล่างนี้ ทั้งนี้ สาขาสำคัญที่มีส่วนส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจอินโดนีเซีย ยังคงเป็นอุตสาหกรรม (โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป) การค้า การเกษตร และเหมืองแร่ ซึ่งล้วนเป็น backbone ตามนโยบายการส่งเสริมเศรษฐกิจอินโดนีเซียของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ส่วนธุรกิจขนส่งและโกดังสินค้า และธุรกิจที่พัก อาหารและเครื่องดื่ม เป็นสาขาที่ขยายตัวมากที่สุดเช่นเดียวกับในไตรมาส 4/65 อันเนื่องจาก การผ่อนคลายมาตรการสาธารณสุข และนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว

No.

Field of Business

Distribution (%)

Growth (YoY) (%)

1.

Industry

18.34

4.89

2.

Trade

12.85

5.52

3.

Agriculture

12.40

2.25

4.

Mining

12.22

4.38

5.

Construction

9.77

2.01

6.

Transportation & Warehouse

5.02

19.87

7.

ICT

4.15

7.74

8.

Financial Services

4.13

1.83

9.

Government Administration

3.09

2.52

10.

Education Services

2.89

0.59

11.

Real Estate

2.49

1.72

12.

Accommodation and F&B

2.41

11.97

13.

Other Services

1.81

9.47

14.

Company Services

1.74

8.77

15.

Health Services

1.21

2.74

16.

Procurement of Electricity & Gas

1,04

6.61

17.

Procurement of Water

0.06

3.23



2.3 GDP ของอินโดนีเซีย ในปี 65 มาจากพื้นที่ 3 เเห่งหลัก ได้แก่

(1) เกาะชวา ร้อยละ 56.48 (2) เกาะสุมาตรา ร้อยละ 22.04 และ (3) เกาะกาลิมันตัน ร้อยละ 9.23


3. ดุลการค้าภาพรวม

อินโดนีเซียได้ดุลการค้าทั้งหมด 54.46 พันล้าน USD ซึ่งเป็นดุลการค้าที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้


ภาพรวมการลงทุนของอินโดนีเซีย ในปี 2565 (เดือนมกราคม - ธันวาคม 2565)

การลงทุนในปี 65

1. มีมูลค่ารวม 1,207.2 ล้านล้าน IDR (ประมาณ 80.1 พันล้าน USD)

เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 YoY และคิดเป็นร้อยละ 100.6 ของเป้าหมายที่ประธานาธิบดีอินโดนีเซียตั้งไว้สำหรับการดึงดูดเงินลงทุนสำหรับปี 2565 (ตั้งเป้าหมายไว้ 1,200 ล้านล้าน IDR) ซึ่งนับเป็นความสำเร็จที่สำคัญของรัฐบาลอินโดนีเซีย โดยในจำนวนนี้ แบ่งเป็น FDI มูลค่า 654.4 ล้านล้าน IDR (43.6 พันล้าน USD) เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.2 YoY และ DDI 552.8 ล้านล้าน IDR (36.8 พันล้าน USD) เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 YoY

2. ผู้ที่เข้ามาลงทุนในอินโดนีเซียมากที่สุด 5 ลำดับแรกของปี 65 ได้แก่

(1) สิงคโปร์ 13.3 พันล้าน USD โดยนิยมลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาด เพื่อส่งกลับไปใช้ที่ สิงคโปร์ (2) จีน 8.2 พันล้าน USD โดยนิยมลงทุนในธุรกิจเหมืองแร่ประเภทต่าง ๆ เพื่อส่งกลับไปผลิตยังจีน และสินค้าแปรรูป (3) ฮ่องกง 5.5 พันล้าน USD (4) ญี่ปุ่น 3.6 พันล้าน USD และ (5) มาเลเซีย 3.3 พันล้าน USD ทั้งนี้ ไทยอยู่ในอันดับที่ 17 โดยลงทุนไปประมาณ 209 ล้าน USD ใน 483 โครงการ


ที่มา :