การค้าไทย-อินโดนีเซีย

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้าอินโดนีเซียเป็นส่วนใหญ่

(สถิติการค้าในช่วงปี 2540-2550)

ปี พ.ศ. มูลค่าการค้า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ไทยได้ดุลการค้า (ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
2540 2,144.1 366.5
2541 1,868.8 98.7
2542 2,064.6 127.7
2543 2,647.2 62.3
2544 2,728.21 11.3
2545 3,228 132.8
2546 4,066.70 555.10
2547 5,533.4 899.1
2548 7,133.4 864.2
2549 6,478 - 102.6
2550 8,753 780
2551 11,734 915
2552 8,467.79 886.86

อินโดนีเซียเป็นคู่ค้าอันดับ 3 ของไทยในอาเซียนและลำดับ 10 ในโลก ขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าอันดับ 3 ของอินโดนีเซีย ในอาเซียนเช่นกัน

        อินโดนีเซียเป็นตลาดส่งออกใหญ่เป็นอันดับ 8 ของไทย ในปี 2007 สัดส่วนสินค้านำเข้าจากไทยในสินค้านำเข้าทั้งหมด ของอินโดนีเซีย คือ 5.8% โดยอยู่ในลำดับที่ 6 (Singapore 13.2%, China 11.5%, Japan 8.8%, Malaysia 8.6%, US 6.4%, Thailand 5.8%, Saudi Arabia 4.5%, South Korea 4.3%, Australia 4%)

        สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปอินโดนีเซีย ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบสินค้าเกษตร เช่น ข้าว น้ำตาลทราย เคมีภัณฑ์ น้ำมันดิบ เม็ดพลาสติก เส้นใยประดิษฐ์ เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ กลุ่มเป้าหมายของสินค้าไทย ได้แก่ ผู้บริโภคระดับบนประมาณ 22 ล้านคน (ร้อยละ 10 ของประชากร)

        สินค้านำเข้าที่สำคัญของไทยจากอินโดนีเซีย ที่สำคัญได้แก่ น้ำมันดิบ ถ่านหิน สินแร่และเศษโลหะ เคมีภัณฑ์ จักรยานยนต์และส่วนประกอบ สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ น้ำมันหล่อลื่นและ น้ำมันเบรก เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ ด้ายทอผ้าและด้ายเส้นเล็ก เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ กระดาษ กระดาษแข็งและผลิตภัณฑ์

ปัญหาและอุปสรรคด้านการค้า เช่น

  1. อินโดนีเซียมีการกีดกันทางการค้า เช่น มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและมาตรการ Safeguards มาตรการ ห้ามนำเข้า (Import Ban) มาตรการใบอนุญาตนำเข้า (Import Licensing) มาตรการขึ้นทะเบียน อ.ย. (BPOM-ML Registration) มาตรการด้านสุขอนามัย (SPs)
  2. ระบบศุลกากร กฎระเบียบต่างๆ ไม่ชัดเจน/โปร่งใส และเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน รวมทั้งระบบราชการที่ซับซ้อนยุ่งยากเป็นต้นทุนที่สูงมาก อย่างไรก็ดี ภายใต้การรัฐบาลชุดใหม่ของประธานาธิบดีกำลังปรับปรุงกฎระเบียบและ การดำเนินการขอใบอนุญาตเกี่ยวกับการค้าและการลงทุนให้รวดเร็วขึ้นภายใต้ อาทิ “National Single Window” ของ ก. การค้าและ “One Stop Service” ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของอินโดนีเซีย (BKPM)
  3. ข้อมูลการค้าและการตลาดหาได้ยากและล้าสมัย ต้องมี “connection” กับคนท้องถิ่นซึ่งทำให้นักธุรกิจใหม่ เข้ามาได้ยากและยังการแข่งขันสูงขึ้นจากสินค้าจีน อินเดีย เวียดนาม

        อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีโอกาสทางการค้าสูง เพราะเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน (237.5 ล้านคน) ซึ่งร้อยละ 15 เป็นประชากรที่มีฐานะดีและมีกำลังซื้อสูงมาก มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง ต้องการสินค้า high end สินค้าทุน และสินค้าอุปโภคบริโภคมากเพราะชาวอินโดนีเซียมีความนิยมสินค้าและบริการจากประเทศไทยอยู่แล้ว สำหรับบริการที่มีโอกาสมากคือ บริการทางการแพทย์ และการท่องเที่ยว นอกจากนั้น ยังสามารถใช้ประโยชน์จากการปลอดภาษีนำเข้าในกรอบข้อตกลงอาเซียน (CEPT/AFTA)


กุมภาพันธ์ 2555

เรียบเรียงโดย กองเอเชียตะวันออก 4 กรมเอเชียตะวันออก
โทร. 0-2643-5209-10 แฟกซ์. 0-2643-5208
E-mail : [email protected]

ความตกลงด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ

  • ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน
    เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2524
  • บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านถ่านหิน
    เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2533
  • ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน
    เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2541
  • ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านป่าไม้
    เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2527
  • บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
    เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
  • ความตกลงว่าด้วยการบริการทางอากาศ
    เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2510 ปรับปรุงแก้ไขปี พ.ศ. 2547
  • บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการลงทุน
    เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
  • บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร
    เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2548

26 พฤษภาคม 2553
แหล่งข้อมูล: สอท. ณ กรุงจาการ์ตา
ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.mfa.go.th/web/1312.php?depid=207