สภาพภูมิศาสตร์ และลักษณะประจำจังหวัด

สภาพภูมิศาสตร์

ตั้งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรเป็นประเทศหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลกมี 17,508 เกาะ (เป็นเกาะที่มีประชากร อยู่อาศัยจำนวน 6.000 เกาะ) มีความกว้าง 3,977 ไมล์ ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่ 5.2 ล้านตารางกิโลเมตร หรือ 1.9 ล้านตารางไมล์รวมพื้นที่ทะเล (10 เท่าของไทย)

เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 5 ลำดับได้แก่

1. กาลิมันตัน (Borneo)
     เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 3 ของโลกมีพื้นที่ 539,460
     ตารางกิโลเมตร (ไทย 513,115 ตารางกิโลเมตร)

2. สุมาตรา (Sumatra)
     มีพื้นที่ 473,606 ตารางกิโลเมตร

3. อิเรียนจายา (Irian Jaya)
     หรือปาปัวตะวันตกบนเกาะนิวกินีทางตะวันตกมีพื้นที่ 421,981
     ตารางกิโลเมตร

4. สุลาเวสี (Sulawesi)
     หรือเซลีเบสมีพื้นที่ 189,216 ตารางกิโลเมตร

5. ชวา (Java)
     มีพื้นที่ 132,107 ตารางกิโลเมตรสำหรับหมู่เกาะมาลุกุ (Maluku)
     หรือหมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่าง เกาะสุลาเวสี กับอิเรียนจายา

มี 3 เขตเวลาคือ

1. เขตตะวันตก (สุมาตรา กาลิมันตันตะวันตก และชวา) เท่ากับ GMT+7 หรือตรงกับเวลาของไทย

2. เขตกลาง (กาลิมันตันตะวันออก สุลาเวสี บาหลี) เท่ากับ GMT+8 หรือเร็วกว่าไทย 1 ชั่วโมง

3. เขตตะวันออก (มาลูกุ และอิเรียนจายา) เท่ากับ GMT+9 หรือเร็วกว่าไทย 2 ชั่วโมง สภาพอากาศแบบป่าฝนเขตร้อน มี 2 ฤดูคือ
      ฤดูแล้ง (เมษายน - กันยายน) และฤดูฝน (ตุลาคม -มีนาคม) อุณหภูมิเฉลี่ย 21-33 ํC

      ตั้งอยู่ในบริเวณ Ring of Fire มีภูเขาไฟกว่า 400 ลูก (ยังคุกรุ่นราว 100 ลูก) เกิดแผ่นดินไหววันละ 1 ครั้งโดยเฉลี่ย


24 พฤษภาคม 2553
แหล่งข้อมูล: สอท. ณ กรุงจาการ์ตา
ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.mfa.go.th/web/1312.php?depid=207

ประชากรและศาสนา

อินโดนีเซียมีความแตกต่างหลากหลายด้านวัฒนธรรมและชาติพันธุ์อย่างมาก อาทิ ชวา ซุนดา มาเล จีน บาหลี บาดุย อาเจะห์ ปาปัว โดยมีภาษาท้องถิ่นกว่า 700 ภาษา ต่อมา ทางการจึงได้ประกาศใช้ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาทางการตั้งแต่ประกาศเอกราชเมื่อปี ค.ศ. 1945 โดยเป็นหนึ่งในสิ่งที่สร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันของชาติ และได้ประกาศคำขวัญของประเทศขึ้นมาพร้อมกันด้วยภายใต้หลัก Unity in Diversity และมีการประกาศอุดมการณ์ของประเทศจำนวน 5 ข้อ เรียกว่าหลักปัญจศีล (Pancasila) ซึ่งมีฐานะเป็นอุดมการณ์เชิงปรัชญาพื้นฐานของประเทศมาจนถึงปัจจุบัน

ในด้านศาสนา ปัจจุบันรัฐบาลอินโดนีเซียให้การรับรอง 6 ศาสนาหลัก ได้แก่ อิสลาม โปรแตสแตนท์ โรมันแคทอลิก ฮินดู พุทธ และขงจื้อ ทั้งนี้ประชากรอินโดนีเซียนับถือศาสนาอิสลามมากที่สุด (87%) และนับเป็นประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ในหลายพื้นที่ อาทิ เกาะชวา จะเห็นอิทธิพลของศาสนาและความเชื่ออื่น ๆ อาทิ ฮินดู พุทธ เช่นกัน

ลักษณะการเมืองการปกครอง

ระบบสาธารณรัฐแบบมีประธานาธิบดี ซึ่งเป็นประมุขสูงสุดด้านการบริหารเป็นหัวหน้ารัฐบาล และเป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพ ประธานาธิบดีมีวาระการบริหารงาน 5 ปีและอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 สมัย โดยนายโจโก วิโดโด (Joko Widodo) ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนปัจจุบันเป็นสมัยที่ 2

การปกครองประเทศ
ใช้หลัก "ปัญจศีล" (Pancasila) คือ Belief in one God / The Unity of Indonesia / Just and Civilized Society / Representative Democracy / Social Justice for the Whole of the People of Indonesia)

แบ่งเขตการปกครองเป็น 33 เขต
ประกอบด้วย 28 จังหวัด (Propinsi) และเขตปกครองสถานะพิเศษ 5 แห่ง คือ
1. เขตพิเศษเมืองหลวง (Daerah Khusus Ibukota - DKI) คือ กรุงจาการ์ตา
2. เขตปกครองพิเศษ (Daerah-Daerah Istimewa - DDI) 4 แห่งคือ

  • Yogyakarta
    มีสุลต่านยอกยาการ์ตาเป็น Governor
  • Aceh
    ปกครองแบบ Autonomy
  • Papua
    ปกครองแบบ Autonomy
  • West Papua
    โดย Papua และ West Papua ได้รับงบประมาณเพิ่มพิเศษจากค่าภาคหลวง (royalties) ของผลผลิตในท้องถิ่น
    เช่น 80% จากการประมงและป่าไม้ 70% จากน้ำมันและก๊าซ

        รัฐสภา เรียกว่า สภาที่ปรึกษาประชาชน (People's Consultative Assembly - MPR) ซึ่งประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (People's Representative Council - DPR) 560 คน และสมาชิกสภาผู้แทนระดับภูมิภาค (Regional Representatives Council - DPD) 132 คน รวม 692 คน สำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่นมี สภาประชาชนระดับท้องถิ่น (Regional People's House of Representatives - DRRD) ทุกระดับมีการเลือกตั้งโดยตรง




24 พฤษภาคม 2553
แหล่งข้อมูล: สอท. ณ กรุงจาการ์ตา
ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.mfa.go.th/web/1312.php?depid=207

ข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดที่สำคัญในอินโดนีเซีย

จังหวัดที่สำคัญในอินโดนีเซีย
  • เกาะชวา (Java Island)
    เกาะชวาถือเป็นเกาะที่มีประชากรอยู่มากที่สุดในอินโดนีเซีย ถือเป็นศูนย์กลางของการค้า การเงิน และ อุตสาหกรรม นอกจากนั้นยังเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง คือ กรุงจาร์กาตา นอกจากนั้นยังมี ชวาตะวันตกบันเตน (Banten) ชวาตอนกลาง ยอร์กจาร์กาตา (Yorkjakarta) ซึ่งถือเป็นเขตปกครองพิเศษ จัดเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งของอินโดนีเซีย และเคยเป็นเมืองหลวงเก่าแห่งหนึ่งของอินโดนีเซีย รวมถึง ชวาตะวันออก
  • เกาะสุมาตรา (Sumatra Island)
    จังหวัดอาเจ๊ะห์ สุมาตราตอนเหนือ สุมาตราตะวันตก ได้แก่ เบงกูลู (Bengkulu) ริเอา (Riau) จำบี (Jambi) Nanggroe Aceh Darussalam; North Sumatera; สุมาตราตอนใต้ ได้แก่ เมือง ลำปุง (Lampung) บังกา และหมู่เกาะเบลิตุง (Belitung Islands)
  • เกาะกาลิมันตัน (Kalimanta Island)
    กาลิมันตันตะวันตก กาลิมันตันตอนกลาง กาลิมันตันตอนใต้ และ กาลิมันตันตะวันออก
  • หมู่เกาะนุสันเติงการา (Nasa Tenggara)
    Bali; West Tenggara Barat; East Nusa Tenggara
  • เกาะสุลาเวสี (Sulawesi Island)
    สุลาเวสีตะวันตก สุลาเวสีตอนเหนือ สุลาเวสีตอนกลาง สุลาเวสีตอนใต้ สุลาเวสีตะวันออกเฉียงใต้ และ โกรอนทาโล
  • หมู่เกาะโมลุกกะ และปาปัว (Maluku and papua Islands)
    โมลุกกะ โมลุกกะตอนเหนือ ปาปัวตะวันตก และปาปัว

เมืองใหญ่ 10 อันดับในอินโดนีเซีย

1. จาร์กาตา Jakarta – Jakarta Special Capital Region Province

(หรือเรียกย่อ ๆ ว่า DKI Jakarta) ตั้งอยู่ในทำเลที่ตั้งที่ดี เป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางของหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในการบริหารประเทศ DKI Jakarta ครอบคลุมพื้นที่ 7.639 ตารางกิโลเมตร โดยแบ่งเป็นพื้นที่ดิน 661.52 ตารากิโลเมตร และ พื้นน้ำ 6,977.5 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 9,041,605 คน (ข้อมูลปี 2005) คิดเป็นความหนาแน่นของประชากร 13.668 คน ต่อ ตารางกิโลเมตร พื้นที่ของกรุงจาร์กาตา ส่วนใหญ่ หรือ 43,788.57 เฮกเตอร์ ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและที่เหลือ 4,417.87 เฮกเตอร์ เป็นพื้นที่เพื่อการอุตสาหกรรม ในฐานะที่กรุงจาร์กาตา เป็นเมืองหลวงของประเทศ และศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ สาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยสะดวกต่าง ๆ เพื่อการติดต่อสื่อสาร และกิจกรรมอื่น ๆ ถูกจัดไว้อย่างครบถ้วน เพื่อสนับสนุนการลงทุน ทั้งสนามบินระหว่างประเทศ 2 แห่ง คือ สนามบินซูการ์โน-ฮัตตา (Soekarno-Hatta) และสนามบินใหม่ฮาร์ลิมเปอร์ดานา กุสุมา (Halim Perdana Kusuma) และท่าเรือ ตันจุง พริออก (Tanjung Priok) รวมถึง การขนส่งทางบก และทางรถไฟ ที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

2. สุราบายา Surabaya

เป็นเมืองหลวงของชาวตะวันออก และเป็นเมืองใหญ่อันดับสอบของประเทศ มีประชากรโดยประมาณ 3 ล้านคน สุราบายา ถือเป็นประตูการค้าสู่อินโดนีเซียด้านตะวันออก เป็นเมืองที่มีศักยภาพทั้งด้านเศรษฐกิจ และสิ่งอำนวยสะดวกต่าง ๆ ตลอดจนภูมิประเทศที่ได้เปรียบเป็นเมืองที่มีท่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย

3. เมดาน Medan

เป็นเมืองหลวงของสุมาตราตอนเหนือ ตั้งอยู่ใกล้กับชายฝั่งทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ แต่มักเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในอันดับที่ 4 ถัดจาก จาร์กาตา สุราบายา บันดุง เมดาน มีประชากรประมาณ 2,083,156 คน ในปี 2007 เมดานเป็นศูนย์กลางของการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของอินโดนีเซีย มีนักธุรกิจชาวจีนอยู่อาศัยในเมืองนี้เป็นจำนวนมาก

4. บันดุง Bandung

เป็นเมืองหลวงของชวาตะวันตก อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงจาร์กาตา 180 กิโลเมตร จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับ 4 ของประเทศมีประชากรประมาณ 2.9 ล้านคน (ณ ปี 2007) เป็นเมืองที่มีเชื่เสียงในเรื่องของอุตสาหกรรมสิ่งทอ และเครื่องหนังของประเทศ และเป็นเมืองในต่างจังหวัด ที่มีอัตราการเจริญเติบโตที่สูง ถือเป็นเมืองที่มีอัตราความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย และมีประชากรมากว่า 7.2 ล้านคนที่อาศัยอยู่รอบ ๆ เมืองบันดุง

5.สุมารัง Samarang

เป็นเมืองหลวงของชวาตอนกลาง มีพื้นที่ 225.17 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 1.5 ล้านคน จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 5 ของประเทศ

6. ยอร์กจาร์กาตา Yogyakarta

มีชื่อเสียงในการเป็นศูนย์กลางของศิลปะสไตล์ชวาประเภทต่าง ๆ เช่น ผ้าบาติก การเต้น ละคร ดนตรี บทกวี และการแสดงหนังตะลุง รวมถึงการเป็นศูนย์กลางของการศึกษาขั้นสูง เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยจำนวนมาก และบูโรพุทโธ ซึ่งถือเป็นมหาเจดีย์ของศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก จัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 ของโลก

7. ปาเลมบัง Palembang

เป็นเมืองหลวงของเกาะสุมาตราตอนใต้ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะบนฝั่งแม่น้ำมูสี (Musi River) มีพื้นที่ 40,061 ตารางกิโลเมตร และประชากร 1,441,500 คน เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของเกาสุมาตรารองจากเมืองเมดาน และจัดเป็นเมืองใหญ่อันดับ 7 ของประเทศ

8. มากัสซาร์ Makassar

เป็นเมืองหลวงของเกาะสุลาเวสีตอนใต้ และถือเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของเกาะ มีเมืองท่าที่สำคัญที่ใช้ในการขนส่งสินค้าภายในประเทศระหว่างเกาะต่าง ๆ รวมถึง การค้าระหว่างประเทศ มีประชากรประมาณ 1.22 ล้านคน

9. บันจามาสิน Banjarmasin

เป็นเมืองหลวงของเกาะกาลิมันตันใต้ ตั้งอยู่บนปากแม่น้ำใกล้กับทางแยกระหว่างแม่น้ำบาริโตและแม่น้ำมาร์ตาปูระ (Barito and Martapura rivers) ซึ่งส่งผลให้บางครั้ง เมืองนี้ถูกขนานนามว่าเป็นเมืองแม่น้ำ มีประชากรประมาณ 602,700 คน

10. เดนปาร์ซา Denpasar

เป็นเมืองหลวงของเกาะบาหลี ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในเรื่อง ชายหาดที่สวยงามและศิลปะสไตล์บาหลีประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ผ้าบาติก เครื่องเงิน การแกะสลักไม้ การจัดสวน รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ดั้งเดิมของชาวบาหลี เป็นที่ตั้งของสนามบินระหว่างประเทศ นูราลัย (Ngurah Rai Airport) มีประชากรประมาณ 491,500 คน