รายงานเศรษฐกิจ ปี 2554

ความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจของ อซ. ไตรมาส 1/2554

1. การค้าระหว่างประเทศของ อซ.

1.1 เหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงที่ ญป. กระทบภาคการส่งออกของ อซ. ไม่มากนัก

นาย Mahendra Siregar ผช. รมว. การค้า อซ. คาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าจาก อซ. ไปยัง ญป. จะลดลงในช่วง 3 – 4 เดือนข้างหน้า โดยได้เปรียบเทียบกับภาวะการส่งออกของ อซ. ไปยัง ญป. เมื่อคราวเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่เมืองโกเบะเมื่อปี 2538 ซึ่งปริมาณได้ลดลงในช่วง 6 เดือนแรก โดยที่การส่งออกสินค้าจาก อซ. ไปยัง ญป. ในขณะนั้นคิดเป็นร้อยละ 20 ของปริมาณการส่งออกทั้งหมดของ อซ. ในขณะที่ปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 13 เนื่องจากรัฐบาล อซ. ดำเนินโยบาย export market diversification. ดังนั้น ภาคการส่งออกของ อซ. จะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ดี นาย Mahendra หวังว่าผลกระทบทาง ศก. จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวล่าสุดที่ ญป. จะฟื้นตัวในเร็ววันเนื่องจากเกรงว่าภาคการลงทุนของ อซ. อาจจะได้รับผลกระทบ โดยการลงทุนของ ญป. ใน อซ. ในรอบ 5 ที่ผ่านมาคิดเป็นมูลค่า 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและกว่าร้อยละ 38 เป็นการลงทุนในภาคการผลิต นอกจากนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าทุนและเครื่องจักรจาก ญป. เพื่อใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศด้วย

1.2 Asian Development Bank (ADB) สนับสนุนเงินกู้ยืมเพื่อพัฒนาภาคการส่งออกของ อซ.

Board of Director ของ ADB ได้อนุมัติเงินกู้ยืมจำนวน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสนับสนุนรัฐบาล อซ. ในการขยายสินเชื่อเพื่อผู้ส่งออกและการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่อพัฒนาการส่งออก โดย ADB จะใช้เงินครึ่งหนึ่งของที่ได้รับการอนุมัติดำเนินการปล่อยกู้โดยตรงและอีกครึ่งหนึ่งกำหนดให้ปล่อยกู้ผ่าน ธ. พาณิชย์ อซ.

1.3 รัฐบาล อซ. ได้ลงนาม คตล. ทางการค้ากับบางประเทศบ้างแล้ว

ก. การค้าเปิดเผยเมื่อ มี.ค. 54 ว่า รัฐบาล อซ. ได้ลงนามความตกลงใน comprehensive economic cooperation เพื่อหวังจะปริมาณการค้ากับต่างประเทศแล้ว ได้แก่ ญป. อต. อินเดีย ปากีสถาน อิหร่าน ชิลี ตุรกี อียิปต์ เกาหลีใต้ รูปแบบความตกลงแตกต่างกัน อาทิ (1) Economic Partnership Agreement (ลงนามกับ ญป.) Comprehensive Economic Partnership (2) Comprehensive Economic Cooperation Agreement (3) Free Trade Agreement (4) Preferential Trade Agreement ทั้งนี้ ก. การค้า อซ. เห็นว่า ภาวะการแข่งขันการค้าระหว่างประเทศที่มีแนวโน้มเข้มข้นขึ้นมีส่วนทำให้รัฐบาล อซ. เร่งผลักดันการจัดทำความร่วมมือทาง ศก. และการลงนามความตกลงทาง การค้าในรูปแบบต่างๆ

2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

2.1 รัฐบาล อซ. มีแผนจะดำเนินการขยายท่าเรือหลักของประเทศ

รัฐบาล อซ. คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการขยายท่าเรือ Tanjung Priok ได้ภายในเดือน เม.ย. 54 โดยในระยะแรกของโครงการซึ่งกำหนดจะแล้วเสร็จภายในปี 2556 จะต้องใช้เงินประมาณ 739 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งขณะนี้ ธ. พาณิชย์ อซ. ต่างๆ ได้แก่ ธ. Mandiri ธ. Negara Indonesia (BNI) และ ธ. Rakyat Indonesia (BRI) แสดงความสนใจที่จะปล่อยเงินกู้ให้กับโครงการดังกล่าว หน่วยงานหลักที่จะเกี่ยวข้องกับโครงการขยายท่าเรือ ได้แก่ การท่าเรือ อซ. ซึ่งจะรับผิดชอบการก่อสร้างเพื่อขยายท่าเรือ และ ก. Public Works ซึ่งจะรับผิดชอบการก่อสร้างถนนสายต่างๆ ที่จะเข้าสู่ท่าเรือรวมทั้งการก่อสร้าง dry port ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมการผลิตซึ่งจะอำนวยความสะดวกในการดำเนินการเอกสารสำหรับการส่งออกก่อนนำสินค้าไปที่ท่าเรือ

2.2 รัฐบาล ตปท. เริ่มแสดงความสนใจในการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใน อซ.

ตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2554 ประเทศต่างๆ แสดงความสนใจที่จะลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใน อซ. อาทิ (1) รัฐบาล ญป. ซึ่งได้ยืนยันว่าจะเดินหน้าการดำเนินโครงการ MPA เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขต Metropolitan Priority Area (MPA) (ตามนัยโทรเลข สอท. ที่ JKT 236/2554 ลว. 21 มี.ค. 54) (2) รัฐบาล กลต. ยืนยันความสนใจที่จะช่วยเหลือ อซ. ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยในชั้นนี้ Korea Railroad Research Institute (KRRI) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล กลต. และ KADIN เพิ่งจะลงนาม MoU เมื่อช่วงปลายเดือน มี.ค. 54 เพื่อร่วมมือกันกำหนดกลยุทธ์และแผนสำหรับการพัฒนาทางรถไฟเชื่อมสนามบินระหว่างประเทศ Soekarno – Hatta กับจาการ์ตา และเส้นทางรถไฟสายจาการ์ตา – สุราบายา ทั้งนี้ ภาคเอกชน กลต. พร้อมที่จะเข้าร่วมการประมูลการก่อสร้างในอนาคต

3. ภาคพลังงาน

3.1 เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในลิเบียส่งผลกระทบต่อการกำหนดราคาน้ำมันใน อซ.

นาง Evita Herawati Legowo อธ. กรม Oil and Gas กล่าวว่า เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองใน ภูมิภาคตะวันออกกลางไม่น่าจะกระทบต่อปริมาณน้ำมันในประเทศเนื่องจาก อซ. นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากภูมิภาค ตะวันออกกลางเพียงร้อยละ 7 ของปริมาณการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจาก ตปท. ทั้งหมด และน้ำมันดิบร้อยละ 12 ของปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบจาก ตปท. ทั้งหมด อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ทางการเมืองในลิเบียซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิต น้ำมันมากเป็นอันดับ 3 ของโลกน่าจะส่งผลกระทบต่อ อซ. มากกว่าเนื่องจากมีผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ในตลาดโลกซึ่งจะมีผลกระทบต่อการกำหนดราคาน้ำมันในประเทศและการบริหาร งปม. แผ่นดินเนื่องจากรัฐบาล อซ. ดำเนินนโยบายให้เงินอุดหนุนน้ำมันเชื้อเพลิง

3.2 เหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงที่ ญป. อาจทำให้การส่งออก LNG ของ อซ. ไป ญป. เพิ่มขึ้น

ความผันผวนของราคาน้ำมันและผลกระทบจากเหตุการณ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะไดอิจิระเบิด เนื่องจากแผ่นดินไหวรุนแรงเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 54 ที่ ญป. เป็นแรงกระตุ้นให้รัฐบาล อซ. พิจารณาทบทวนการผลิต กระแสไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือกอย่างจริงจังโดยเฉพาะพลังงานความร้อนใต้พิภพเพราะ อซ. มีแหล่งพลังงาน ความร้อนใต้พิภพเป็นแนวยาวตั้งแต่เขตสุมาตราไปจนถึง East Nusa Tenggara ซึ่งมีศักยภาพที่จะผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ ถึง 27,000 เมกาวัตต์ นอกจากนี้ เมื่อต้นเดือน ก.พ. 54 ที่ผ่านมาซึ่งรัฐบาล อซ. ประกาศว่าจะออกกฎระเบียบในอนาคต เกี่ยวกับการกำหนดราคารับซื้อและข้อบังคับให้ บ. PLN รับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากผู้ประกอบการที่ใช้พลังงานความร้อน ใต้พิภพซึ่งรัฐบาล อซ. คาดว่าจะเป็น incentive ให้เกิดการลงทุนสาขา geothermal มากขึ้นรวมทั้งจะเอื้ออำนวยให้โครงการลงทุนในสาขา geothermal ของนักลงทุนในปัจจุบันให้มีความคืบหน้าต่อไปได้

4. ภาคการเงินและการธนาคาร

4.1 ธ. กลาง อซ. ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี

เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 54 ธ. กลาง อซ. ตัดสินใจประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 6.75 หลังจากที่ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งสุดท้ายเมื่อเดือน ต.ค. 2551 เพื่อบรรเทาภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะที่ผ่านมาสืบเนื่องมาจากราคาอาหารในประเทศที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งความผันผวนทางราคาในตลาดโลก ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ธ. กลาง อซ. ยืนกรานที่จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเนื่องจากเกรงว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของ ธ. พาณิชย์ อซ. จะปรับตัวขึ้นตามซึ่ง ธ. กลาง อซ. เกรงว่าจะส่งผลทำให้อัตราการขยายตัวทาง ศก. ของประเทศลดลง อย่างไรก็ดี ธ. พาณิชย์หลักๆ ของ อซ. ต่างยืนยันในชั้นนี้ว่าจะยังคงไม่ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในระยะอันใกล้นี้เนื่องจากยังคงมีเงินปล่อยกู้เพียงพอ

4.2 ธ. กลาง อซ. กำหนดให้ ธ. พาณิชย์ อซ. เปิดเผย prime lending rate

ตั้งแต่วันที่ 31 มี.ค. 54 เป็นต้นไป ธ. กลาง อซ. ได้กำหนดให้ ธ. พาณิชย์ต่างๆ ใน อซ. ซึ่งมีสินทรัพย์มากกว่า 1.11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐขึ้นไปซึ่งมีจำนวน 44 ธนาคาร ต้องประกาศ prime lending rate ให้ลูกค้าของ ธ. พาณิชย์ทราบโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการปล่อยเงินกู้ของ ธ. พาณิชย์ต่างๆ ใน อซ. ซึ่งจะเป็นผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จาก ธ. พาณิชย์ลดลง ทั้งนี้ การดำเนินการข้างต้นเป็นที่พอใจต่อภาคเอกชนต่างๆ ใน อซ. เนื่องจากปัจจุบัน Net Interest Margin (NIM) จากการปล่อยเงินกู้ของ ธ. พาณิชย์ อซ. ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6 เป็นอัตราที่สูงเป็นลำดับต้นๆ ในอาเซียนซึ่งอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2 – 5 นอกจากนี้ สมาคมธนาคารของ อซ. คาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของ ธ. พาณิชย์ต่างๆ จะลดลงด้วยเนื่องจากภาวะทางการแข่งขันที่เป็นผลมาจากการถูกบังคับให้เปิดเผย prime lending rate

4.3 รัฐบาล อซ. พยายามเคลื่อนย้ายเงินลงทุนระยะสั้นให้เข้าสู่การลงทุนในระยะยาวมากขึ้น

เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 54 โฆษก ธ. กลาง อซ. ประกาศว่า ธ. กลาง อซ. จะออก Promissory note ระยะสั้น (SBI) ที่มีระยะเวลาครบกำหนดตั้งแต่ 9 เดือนขึ้นไปและจะใช้มาตรการ non-tradable term deposit ระยะเวลา 6 เดือนเพื่อควบคุมให้เงินทุนต่างประเทศระยะสั้นหมุนเวียนในระบบ ศก. อซ. เป็นระยะเวลานานขึ้นและกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนให้เข้าสู่ภาค real sector ที่มีการลงทุนในระยะยาวซึ่งจะเป็นการป้องกันมิให้เกิด reversal อย่างกะทันหันดังเช่นวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2540 และ 2551 นอกจากนี้ ก. การคลัง อซ. ได้ออก Treasury bill ซึ่งมีระยะเวลาครบกำหนด 3 เดือนและมีแผนจะขยายระยะเวลาออกไปเป็น 6 – 12 เดือนเพื่อระดมเงินทุนไปสนับสนุน งปม. แผ่นดินแบบเกินดุลของรัฐบาลซึ่งจะใช้ไปในโครงการพัฒนาที่สำคัญต่างๆ ของประเทศ โดยการออก Treasury bill เป็นการรองรับอุปสงค์ที่มาจากเงินทุนต่างประเทศที่จะครบกำหนดจาก SBI ระยะสั้น 3 – 6 เดือนในเร็ววันนี้

5. ภาวะเงินเฟ้อของ อซ.

ภาวะเงินเฟ้อของ อซ. ส่งสัญญาณบรรเทาลงไปจนถึงไตรมาสที่ 2/2554

ภาวะเงินเฟ้อของ อซ. ในไตรมาสแรกของปี 2554 มีแนวโน้มลดลง (อัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค. 54 เป็นร้อยละ 7.02 ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 21 เดือน และลดลงเหลือร้อยละ 6.84 ในเดือน ก.พ. 54) สาเหตุหลักเกิดจากการ ประกาศของรัฐบาลว่าจะเพิ่มการผลิตข้าวให้ได้ร้อยละ 1.4 ซึ่งน่าจะทำให้มีปริมาณข้าวสำรองในประเทศสูงขึ้น

การที่ (1) ธ. กลาง อซ. ตัดสินใจประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อเดือน ก.พ. 54 เป็นร้อยละ 6.75 (เดิมร้อยละ 6.5)และ (2) รัฐบาล อซ. ตัดสินใจเลื่อนการประกาศยกเลิกการอุดหนุนน้ำมันเชื้อเพลิงเมื่อกลางเดือน มี.ค. 54 ออกไปอย่างไม่มีกำหนดจะมีส่วนช่วยให้แนวโน้มสถานการณ์เงินเฟ้อผ่อนเบาลงไปได้ระยะหนึ่ง ทั้งนี้ ธ. กลาง อซ. ตั้งเป้าหมายว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 4 – 6 ในปี 2554 แต่อาจจะเป็นร้อยละ 6.5 หากรัฐบาลยกเลิกการอุดหนุนน้ำมันเชื้อเพลิง อย่างไรก็ดี รัฐบาล อซ. คาดว่า อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 5.3 ในปี 2554 และอาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 – 0.6 หากรัฐบาล อซ. ประกาศยกเลิกการอุดหนุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

รมว. ประสานงานด้าน ศก. และผู้ว่าการ ธ. กลาง อซ. คาดว่าภาวะเงินเฟ้อน่าจะดีขึ้นเป็นลำดับไปจนถึงเดือน พ.ค. 54 เนื่องจากช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่สองจะทำให้ราคาอาหารลดต่ำลง

6. การบริหารการคลังของรัฐบาล

6.1 อัตราการใช้จ่าย งปม. ในไตรมาส 1/2554 สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

นาย Hatta Rajasa รมว. ประสานงานด้าน ศก. อซ. เปิดเผยว่า อัตราการใช้จ่าย งปม. ปี 2554 ในไตรมาสแรกของรัฐบาล อซ. คิดเป็นร้อยละ 11.1 ของ งปม.ฯ (สถานะวันที่ 15 มี.ค. 54) สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปี 2553 ซึ่งอัตราประมาณร้อยละ 7 - 8 และเป็นหนึ่งในสัญญาณสำคัญของการขยายตัวทาง ศก. ในไตรมาส 1/2554 นอกจากนี้ สน. งปม. อซ. เปิดเผยเพิ่มเติมว่า คชจ. ส่วนมากเป็นเงินเดือน ขรก. ซึ่ง ธ. พาณิชย์ต่างๆ เชื่อว่าน่าจะช่วยเพิ่มอัตราการบริโภคของ ปชช. ในไตรมาสดังกล่าวได้มาก

6.2 ความผันผวนของราคาน้ำมันและเงินรูเปียห์ที่แข็งค่าขึ้นส่งผลกระทบต่อการบริหารการคลัง

รมว. คลัง อซ. เปิดเผยว่า หากราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นจะไม่ส่งผลออย่างมีนัยสำคัญต่อการบริหารจัดการ งปม. แผ่นดินแม้ว่าราคาน้ำมันดิบ อซ. (Indonesian Crude Price – ICP ซึ่งเป็นราคา benchmark จากการน้ำเข้าและส่งออกน้ำมัน โดยในงปม. แผ่นดินของรัฐบาล อซ. ปี 2554 ได้กำหนดให้ราคา ICP อยู่ที่ 80 ดอลลาร์สหรัฐ/บาเรล) จะเพิ่มเป็น 100 ดอลลาร์สหรัฐ/บาเรลเนื่องจากเงินรูเปียห์ที่แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาล อซ. ยังอุดหนุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิงต่อไปอย่างไม่มีกำหนด (เดิมกำหนดเป็นวันที่ 1 เม.ย. 54) จะส่งผลให้ งปม. แผ่นดินขาดดุล 8 แสนรูเปียห์ต่อราคา ICP ที่เพิ่มขึ้นทุก 1 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ภาวะดังกล่าวจะถูกชดเชยด้วยเงินรูเปียห์แข็งค่าขึ้นที่แข็งขึ้น ซึ่งทุก 100 รูเปียห์จะส่งผลให้ งปม. เกินดุล 1.7 ล้านล้านรูเปียห์ อย่างไรก็ดี รัฐบาลคาดว่า ภายในปีนี้ งปม. จะขาดดุลไม่เกินร้อยละ1.86 ของ GDP หากเงินสกุลรูเปียห์ยังคงแข็งค่า

นอกจากนี้ กำลังการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่ค่อยจะเพิ่มขึ้นก็เป็นปัจจัยเพิ่มเติมที่รัฐบาล อซ. ยังต้องคงนโยบายอุดหนุนน้ำมันเชื้อเพลิงไว้อยู่ ทั้งนี้ คาดว่า อซ. จะผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงได้ประมาณ 970,000 บาเรล/วัน ในขณะที่ BPMigas ประมาณการว่า อซ. น่าจะผลิตได้ประมาณ 945,000 – 970,000 บาเรล/วัน

6.3 ข้อวิจารณ์ในไตรมาส 1/2554 ต่อการบริหารการคลังของรัฐบาล

นักเศรษฐศาสตร์ต่างๆ ตั้งข้อสังเกตจากการดำเนินนโนบายอุดหนุนน้ำมันเชื้อเพลิงต่อรัฐบาล อซ. ว่าเป็นการใช้ งปม. ที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเนื่องจากคนชั้นกลางถึงรวยเป็นกลุ่มที่ใช้น้ำมันที่ได้รับการอุดหนุนราคามากกว่าคนจน และ งปม. อุดหนุนน้ำมันเชื้อเพลิงน่าจะนำไปใช้ในการส่งเสริมการสำรวจและขุดเจาะแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติหรือการพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่นๆ มากกว่า ทั้งนี้ รัฐบาล อซ. จัดสรร งปม. สำหรับอุดหนุนการใช้พลังงานในประเทศ เป็นเงินประมาณ 136.6 ล้านล้านรูเปียห์ หรือเกือบร้อยละ 73 ของการอุดหนุนจากรัฐบาลทั้งหมดในปี 2554 (งปม. ที่จัดสรรสำหรับการอุดหนุนประมาณ 187.6 ล้านล้านรูเปียห์) โดยคิดเป็นเงินอุดหนุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 87.6 ล้านล้านรูเปียห์


7 เมษายน 2554
แหล่งข้อมูล: สอท. ณ กรุงจาการ์ตา